ตรวจเลือดเช็คโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน ถือว่าเป็นโรคทีมีจำนวนผู้ป่วยมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มีตั้งแต่อายุยังน้อย จนไปถึงผู้ที่อยู่ในวัยชราภาพ โรคนี้หากเป็นแล้วจะมีอาการที่เรื้อรัง ผู้ป่วยต้อยคอยดูแล ควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือดของตนเองให้อยู่ในภาวะปกติเสมอ  ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานได้หลากหลายวิธี  แต่วิธีที่นิยมกันมากที่สุดก็คือ วิธีการเจาะเลือดมาตรวจ เพื่อวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากเป็นวิธีที่ให้ผลตรวจที่แม่นยำ มีความสะดวก ทำได้ง่าย และมีค่าใช้จ่ายน้อยในการตรวจนั้นเอง

ค่าการตรวจเลือดที่สำคัญในการวิเคราะห์โรคเบาหวาน
ในการตรวจเลือดเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานนั้น ในทางการแพทย์จะใช้ค่าในการตรวจหาปริมาณน้ำตาลหลายๆตัวด้วยกัน เช่น  FBS, FPG, HbA1c, GTT เป็นต้น ซึ่งในการตรวจนั้น แพทย์อาจใช้ค่าใดค่าหนึ่ง หรือ ใช้ค่าผลตรวจหลายๆตัวรวมกันก็ได้ เพื่อให้ผลตรวจที่ได้ออกมามีความแม่นยำมากที่สุด

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจเลือด
การตรวจเลือดเพื่อหาความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานนั้น แพทย์จะให้ผู้ที่ต้องการตรวจเลือด งดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดก่อนตรวจเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อให้ผลเลือดที่ออกมาปราศจากความคลาดเคลื่อนนั้นเอง

ค่า FBS คืออะไร
FBS หรือ Fasting Blood Sugar คือ วิธีมาตรฐานที่นิยมใช้เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวาน หลังจากที่ได้มีการอดอาหาร และเครื่องดื่มมาอย่างน้อยเป็นเวลากว่า 8 ชั่วโมง หรือ สามารถเรียกการตรวจค่าชนิดนี้ว่า Fasting Plasma Glucose (FPG) ก็ได้เช่นกัน โดย FPG มีค่าปกติ คือ

FPG      < 110     mg/dL


ดังนั้นหากผู้ที่ทำการตรวจมีปริมาณของค่า FPG ผิดไปจากค่ามาตรฐาน สามารถสรุปในเบื้องต้นได้ดังนี้

ค่า FPG ที่วัดได้ สูงกว่า 110 mg/dL มีภาวะของโรคเบาหวานเกิดขึ้นแล้ว
ค่า FPG ที่วัดได้ ต่ำกว่า 70 mg/dL อาจเกิดมีสภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกิดขึ้น


การทดสอบการทนน้ำตาล (GTT)
ปกติแล้วในร่างกายมนุษย์เราจะมี ฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินซูลิน (Insulin) ซึ่งผลิตได้มาจากตับอ่อนในร่างกาย มีหน้าที่หลักในการควบคุมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โดยนำน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ต่างๆในร่างกาย แต่สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ร่างกายอาจผลิต อินซูลิน ได้น้อยกว่าปกติหรือผลิตไม่ได้เลย จึงทำให้มีปริมาณน้ำตาลตกค้างในเลือดมาก ส่งผลให้เกิดสภาวะของโรคเบาหวาน

ดังนั้นในการตรวจวินิจฉัยของแพทย์สำหรับโรคเบาหวานนั้น แพทย์จะต้องทำการตรวจ เพื่อทดสอบว่า ในกรณีที่ร่างกายได้รับปริมาณของน้ำตาล จากการบริโภคอาหารต่างๆ เข้าไปในปริมารมากอย่างทันทีทันใด แล้วร่างกายยังสามารถทนทานและรับมือกับน้ำตาลจำนวนมากนี้ ได้ดีมากน้อยเพียงใด  จึงเกิดการตรวจสอบที่เรียกว่า การทดสอบการทนน้ำตาล หรือ การตรวจ GTT มีชื่อเต็มๆ คือ Glucose Tolerance Test

วิธีการตรวจ การทดสอบการทนน้ำตาล (GTT)
ในการทดสอบ GTT นั้น จะใช้วิธีให้ผู้ที่ถูกตรวจ ดื่มน้ำตาลกลูโคสมาตรฐาน (Standard Oral Glucose) จำนวน 75 กรัม แล้วรอรับการเจาะเลือดตรวจค่าน้ำตาลในเลือด หรือ FPG (ตรวจวัดระดับพลาสมากลูโคส) ณ เวลาสิ้นสุดชั่วโมงที่ 1, 2 และ 3 โดยจะมีการบันทึกค่าไว้ทุกครั้ง

ค่าปกติของการตรวจ GTT เวลา ค่าปกติ FPG
ชั่วโมงที่ 1 FPG    < 110      mg/dL
ชั่วโมงที่ 2 FPG < 200      mg/dL
ชั่วโมงที่ 3 FPG < 140      mg/dL


กรณีค่า FPG ที่ได้จากการตรวจ GTT มีค่าผิดปกติไปจากมาตรฐาน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีดังนี้

1. ตรวจวัด  FPG ได้น้อยกว่าค่ามาตรฐาน  หมายถึง ufabet เป็นผู้ที่สามารถทนทานและรับมือกับน้ำตาลจำนวนมาก ได้ในระดับที่ดี โดยอาจเกิดจากปัจจัยดังต่อไปนี้

– อาจมีภาวะเกี่ยวกับโรคตับเกิดขึ้นในร่างกาย
– ต่อมใต้สมอง อาจทำงานผิดปกติ ทำงานได้น้อยเกินไป (Hypopituitarism)
– มีการฉีดอินซูลินที่เกินขนาด สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
– อาจมีโรค  “Insulinoma” เกิดขึ้น  หมายถึง โรคเนื้องอกเกิดขึ้นที่เซลล์ของตับอ่อน ทำให้หลั่งอินซูลินออกมามากเกินเกินความจำเป็น
– อาจได้รับปริมาณอาหารไม่เพียงพอ

2. ตรวจวัด FPG ได้สูงกว่าค่ามาตรฐาน  หมายถึง เป็นผู้ที่สามารถ แทงบอลออนไลน์ ทนทานและรับมือกับน้ำตาลจำนวนมาก ได้ไม่ดี โดยอาจเกิดจากปัจจัยดังต่อไปนี้

– เป็นผู้มีภาวะของโรคเบาหวานเกิดขึ้นแล้ว
– อาจกำลังตกอยู่ภายใต้สภาวะความเครียดอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน เช่น ร่างกายถูกไฟไหม้ หรือได้รับการผ่าตัดใหญ่ จึงเป็นเหตุให้ ฮอร์โมนกลูคากอน (Glucagon) ซึ่งมีบทบาทตรงข้ามกับอินซูลิน ช่วยนำน้ำตาลออกมามากเกินปกติ
– อาจเกิดสภาวะไตวาย จึงทำให้ไตหมดประสิทธิภาพในการขับทิ้ง ฮอร์โมนกลูคากอน  ออกมาทางปัสสาวะ
– อาจเกิดสภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (Acute Panareatitis) เป็นผลทำให้ผลิตอินซูลินไม่ได้ หรือผลิตได้ในปริมาณที่น้อยกว่าปกติ จึงควบคุมระดับน้ำตาลจำนวนมากไม่ได้

การตรวจเลือดเพื่อหาสภาวะของโรคเบาหวานในปัจจุบันนี้ สามารถตรวจได้ง่ายกว่าในอดีตมาก คลินิกและโรง พยาบาลแทบแห่ง ล้วนแต่มีแพทย์ที่จะสามารถตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานได้ทั้งสิ้น  ดังนั้นหากผู้ใดที่คิดว่าตนเอง อยู่ในภาวะความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวาน ทั้งการแสดงออกของอาการเบื้องต้น ปริมาณช่วงอายุที่เหมาะสม หรือ พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวานแล้วละก็ ควรรีบไปให้แพทย์ เพื่อเจาะเลือดตรวจจะดีที่สุด เพราะหากไม่เป็น ก็จะได้เกิดความสบายใจ หรือถ้าหากเป็นโรคเบาหวานจริงๆ แล้ว ก็จะได้รู้และเตรียมพร้อมที่จะปรับตัวรับมือกับโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นกับร่างกายนี้



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

น้ําตาลจากหญ้าหวาน

ประโยชน์ที่ได้รับมาจากวิตามินแต่ละชนิด

ฟรุกโตส ภัยร้ายทำลายสุขภาพ